เรื่องง่ายๆ ในการสร้างสินค้าด้วยตัวเอง
หลายๆ คนมีความฝันอยากที่จะเป็นเจ้าของกิจการตนเองสักที การที่เราจะสร้างแบรนด์สินค้าด้วยตัวเอง เพื่อที่จะได้ขายสินค้าที่เราชื่นชอบหรือเป็นสินค้ายอดนิยม ก็มักจะได้ยินคำติดปากกันอยู่เสมอว่าการสร้างแบรนด์สินค้ามันทำได้ยากมาก ไม่รู้จะสร้างแบรนด์อย่างไรดี หรือไม่รู้ว่าควรที่จะเริ่มตรงไหนก่อน จนทำให้เราไม่สามารถที่จะสร้างสินค้าได้สักที ซึ่งนับได้ว่าปัญหาดังกล่าว ก็เป็นปัญหาระดับชาติที่หลายๆ คนก็หาคำตอบไม่ได้สักที
ทำอย่างไร ให้เราประกอบธุรกิจได้เป็นอย่างดี และ ก้าวสู่การเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้า
วิธีการสร้างแบรนด์สินค้าด้วยตนเอง
1. การวางแผน
วิธีการวางแผนก็ไม่ต้องไปคิดอะไรมากหรือไม่ต้องกลัวอะไร เพราะการวางแผนการประกอบธุรกิจหรือการสร้างแบรนด์สินค้ามันไม่มีอะไรที่ผิดที่ถูกอยู่แล้ว แต่เราก็สามารถที่จะวางแผนเพื่อที่เราจะได้ขายสินค้าได้เป็นอย่างดี เราก็จะต้องมาวิเคราะห์ว่าจุดเด่นของสินค้าของเรามีอะไรบ้าง เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าหรือเปล่า แล้วจะมีโอกาสที่จะเติบโตอะไรได้บ้าง ซึ่งการที่เราวางแผนไว้คร่าวๆ ก็ถือเป็นต้นทุนในการประกอบธุรกิจที่ดี เพราะมันสามารถที่จะนำมาพิจารณาและนำมาปรับใช้กับธุรกิจของเราได้เช่นกัน
2. การศึกษาโอกาสและความเป็นไปได้
การที่เราจะสร้างแบรนด์สินค้าด้วยตัวเอง เราก็จะต้องคิดด้วยว่าโอกาสที่เราจะทำมันสามารถที่จะเป็นไปได้มากน้อยขนาดไหน แล้วสิ่งที่เราทำอยู่ในตอนนี้มันตอบโจทย์ได้ดีหรือไม่ เราควรที่จะต้องทำการศึกษาโอกาสความเป็นไปได้ให้ดีเสียก่อน เพราะถ้าเราผลิตสินค้าไปแล้ว ถ้าเกิดมันขายไม่ได้หรือไม่ได้เป็นที่นิยม ก็อาจจะทำให้แบรนด์สินค้าของเราเกิดความเสียหาย และ เกิดสภาวะขาดทุนได้เหมือนกัน ฉะนั้น ถ้าเราเตรียมความพร้อมในส่วนนี้มาได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดราคา การวิเคราะห์ถึงข้อดีและข้อเสียของสินค้าของเรา การศึกษาตลาดต่างๆ นั้น ถ้าเราทำได้ มันก็จะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ได้ และที่สำคัญ ถ้าเราไม่มีการศึกษาอะไรเลย บางทีก็อาจจะทำให้สินค้าของเราไม่ตอบโจทย์และไม่เป็นที่ต้องการได้เช่นกัน
3. การหาโรงงานหรือหาตัวแทนผลิตสินค้า
ในกรณีที่เรามีงบประมาณที่ไม่เยอะ เราก็จำเป็นที่จะต้องหาผู้ผลิตสินค้าให้กับเรา โดยที่เราไม่ต้องลงทุนเรื่องเครื่องจักรชนิดต่างๆ ในการที่เราหาโรงงานได้ก็จะทำให้เราสามารถได้สินค้าที่ได้มาตรฐานอยู่เหมือนกัน แต่เราก็จะต้องนำมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ด้วยนะครับว่า แต่ละโรงงานที่เราเลือกใช้บริการมา มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง มีการคิดค่าจ้างเท่าไร ก่อนที่เราจะเลือกโรงงานในการผลิตสินค้าเราก็ควรที่จะต้องศึกษาหาข้อมูล ดูรีวิวสินค้าที่ผ่านมาด้วย ว่าลูกค้ารายเก่าที่ได้ผลิต ของแต่ละโรงงานสามารถที่จะตอบโจทย์และเหมาะสมได้ดีหรือเปล่า แต่คิดว่าถ้าเราเชื่อมั่นว่าโรงงานนี้ดีจริง เราก็สามารถที่จะสั่งผลิตไปได้เลย
4. การทดสอบก่อนจัดจำหน่าย
การสั่งผลิตสินค้าชนิดต่างๆ เราก็จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่เกี่ยวกับการพัฒนาสูตรกันอยู่แล้วนะครับ เพื่อที่จะให้สินค้าของเราเป็นไปตามเป้าหมายที่เรากำหนดไว้ เราก็ควรที่จะต้องมีการเทสสินค้าของเราก่อนที่จะนำออกไปจัดจำหน่าย ถ้าหากสินค้าที่เราได้สั่งผลิตมันโอเค มันตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีแล้วเราถึงจะสามารถที่จะนำออกจำหน่ายได้ และที่สำคัญ เราก็จะต้องมั่นใจด้วยว่าสินค้าที่เราจำหน่ายไปไม่มีผลเสียต่อผู้ใช้ด้วย
5. การวางแผนทางการตลาด
มีความจำเป็นต่อการขายสินค้าของเรา ซึ่งการที่เรามีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การสร้างโลโก้ รวมถึงไปสินค้าที่จะสั่งผลิตในแต่ละล็อตก็ขึ้นอยู่กับการวางแผนทางการตลาด เพราะถ้าเราวางแผนไม่ดี บางที การจำหน่ายสินค้าของเราก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จก็ได้เช่นกัน
สรุป : การสร้างสินค้าด้วยตัวเอง
การที่เราจะสร้างสินค้าด้วยตัวเอง ถ้าเรานำเทคนิคต่างๆ เหล่านี้ไปปรับใช้กัน ผมคิดว่าก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะทำให้การประกอบธุรกิจของเราประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้การที่เรามีการพัฒนารูปแบบของสินค้าของตัวเองร่วมด้วย มันก็จะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะทำให้การเพิ่มยอดขายสินค้าของเราเป็นไปได้ในทิศทางที่ดีได้เช่นกัน ดังนั้นการที่เราต้องการให้สินค้าของเราอยู่ในตลาดได้อย่างยาวนานก็ควรที่จะต้องให้ความสนใจต่อการพัฒนาสินค้าอย่างสม่ำเสมอเพื่อที่สินค้าของเราก็จะได้เป็นสินค้าแบรนด์ดีติดอันดับได้